ประเทศไทย

edit

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา "ไทย" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ไทย (แก้ความกำกวม) ราชอาณาจักรไทย ธงชาติของไทย ธงชาติ ตราแผ่นดินของไทย ตราแผ่นดิน เพลงชาติ: เพลงชาติไทย เพลงชาติไทย (บรรเลง) เมนู0:00 เพลงสรรเสริญพระบารมี: สรรเสริญพระบารมี สรรเสริญพระบารมี (บรรเลง) เมนู0:00 ที่ตั้งของ ประเทศไทย (สีเขียว) ในอาเซียน (สีเทาเข้ม) — [คำอธิบายสัญลักษณ์] ที่ตั้งของ ประเทศไทย (สีเขียว) ในอาเซียน (สีเทาเข้ม) — [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง และ ใหญ่สุด กรุงเทพมหานคร 15.4°N 101.3°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 15.4°N 101.3°E ภาษาราชการ ภาษาไทย รัฐบาลรับรอง 62 ภาษา ภาษาถิ่น ภาษาอีสานคำเมืองภาษาปักษ์ใต้ กลุ่มชาติพันธุ์ (2552;[5] 2554[2]:95–99) ชาวไทย

∟ ไทยกลาง 34.1%
∟ อีสาน 24.9%[1]
∟ ล้านนา 9.9%
∟ ใต้ 7.5%

ไทยเชื้อสายจีน 14% อื่น ๆ 12% (เช่น กะเหรี่ยง, ไทยเชื้อสายมลายู, มอญ, ไทยเชื้อสายเขมร, ชาวเขา)[2]:95–99[3][4] ศาสนา 94.50% พุทธ 4.29% อิสลาม 1.17% คริสต์ 0.03% ฮินดู 0.01% ไม่มีศาสนา[6] การปกครอง ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (นิตินัย) รัฐเดี่ยว ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และ ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา (พฤตินัย) • พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว • นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สภานิติบัญญัติ รัฐสภา • สภาสูง วุฒิสภา • สภาล่าง สภาผู้แทนราษฎร สถาปนา • อาณาจักรอยุธยา 1893 – 7 เมษายน 2310 • อาณาจักรธนบุรี 28 ธันวาคม 2310 – 6 เมษายน 2325 • อาณาจักรรัตนโกสินทร์ 6 เมษายน 2325 • ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 24 มิถุนายน 2475 • รัฐธรรมนูญปัจจุบัน 6 เมษายน 2560 พื้นที่ • รวม 513,120 ตารางกิโลเมตร (198,120 ตารางไมล์) (50) • แหล่งน้ำ (%) 0.4 (2,230 ตร.กม.) ประชากร • 2562 ประมาณ 69,558,935 คน[7] (20) • สำมะโนประชากร 2553 63,785,909 คน[8] • ความหนาแน่น 132.1 ต่อตารางกิโลเมตร (342.1 ต่อตารางไมล์) (88) จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2562 (ประมาณ) • รวม $1.390 ล้านล้าน[9] • ต่อหัว $20,474[9] จีดีพี (ราคาตลาด) 2562 (ประมาณ) • รวม $516 พันล้าน[10] • ต่อหัว $7,607[10] จีนี (2558) 36[11] ปานกลาง HDI (2563) เพิ่มขึ้น 0.777[12] สูง · ที่ 79 สกุลเงิน บาท (฿) (THB) เขตเวลา UTC+7 ขับรถด้าน ซ้ายมือ รหัสโทรศัพท์ +66 โดเมนบนสุด .th.ไทย ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,120 ตารางกิโลเมตร[13] และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 69 ล้านคน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศเหนือและตะวันตก ประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออก ประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันออก และประเทศมาเลเซียทางทิศใต้ กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด[14] แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง โดยมีรัฐประหารครั้งล่าสุดในปี 2557

พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 แทนจักรวรรดิเขมร อาณาจักรอยุธยาสามารถผนวกสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนได้ การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 การสงครามกับพม่านำไปสู่การเสียกรุงในปี 2112 แต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพในเวลา 15 ปี อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาณาจักรสามารถรับมือกับภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับเริ่มจากสนธิสัญญาเบาว์ริง กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม[15] ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหาร รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 นำประเทศเข้าสู่ยุคเผด็จการทหารอย่างเบ็ดเสร็จ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและดำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ[16] แต่หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลา และรัฐประหารปี 2519 ทำให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่เผด็จการทหารและ "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531[17] หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน